การตั้งค่าให้แบบสอบถามเปลี่ยนเป็นข้อสอบย่อยด้วย Google Form

หัวข้อนี้สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างข้อสอบย่อยด้วย Google Form ซึ่งโดยปกติแล้ว การสร้างแบบสอบถามทั่วไป ไม่จำเป็นต้องตั้งค่าตามหัวข้อนี้ ดังนั้นหากคุณไม่ต้องการจะทำข้อสอบก็สามารถข้ามหัวข้อนี้ไปได้เลย

ขั้นตอนการตั้งค่าให้เป็นข้อสอบ

  1. หลักจากกดสร้างแบบฟอร์มใหม่ให้กดที่ปุ่ม ตั้งค่า ซึ่งอยู่ใน แถบเมนูด้านบน
  2. ทำการตั้งค่าต่างๆ
  3. กด บันทึก แล้วไปสร้างแบบฟอร์มต่อได้เลย โดยแบบฟอร์มนี้จะเปลี่ยนเป็นโหมดข้อสอบเรียบร้อยแล้ว

โดยรายละเอียดการตั้งค่า มีดังนี้

q0 รูปภาพ 1.1 – การตั้งค่าให้แบบฟอร์มเป็นข้อสอบ

  • ทำให้เป็นข้อสอบย่อย [Make this a quiz]:  เลือก เปิด/ปิด เพื่อปรับการทำงานให้แบบฟอร์มเป็นข้อสอบย่อย
  • การประกาศคะแนน (เลือกได้ 1 ตัวเลือก)
    – ทันทีหลังจากส่งคำตอบ [Immediately after each submission]: ให้ผู้ทำข้อสอบสามารถดูคะแนนของตนเองได้เลยทันที หลังจากทำข้อสอบเสร็จ
    – ห้ามเผยแพร่ [Don’t release]: ไม่เปิดเผยคะแนน
  • ผู้ตอบสามารถดู [Respondent can see]: ในข้อนี้ เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้ผู้สอบดูอะไรได้บ้าง สามารถดูคำตอบที่ตนตอบผิดและตอบถูกได้หรือไม่ หรือสามารถดูคะแนนสอบของตนเองได้หรือไม่ (หากข้อที่แล้วเราตั้งค่าไว้ว่าห้ามเผยแพร่ ในข้อนี้จะสามารถให้ดูได้เฉพาะคะแนนสอบเท่านั้น)

 

ซึ่งหลังจากที่เราได้ทำการตั้งค่าให้แบบสอบถามของเราเป็นข้อสอบแล้ว จะมีคำถามอยู่ 3 ชนิดที่จะมีฟังก์ชันข้อสอบเพิ่มขึ้นมาในส่วนเพิ่มเติม (Extra คือ

  • หลายตัวเลือก [Multiple Choice]
  • ช่องทำเครื่องหมาย [Checkboxes]
  • เลื่อนลง [Drop-down]

การเพิ่มคำถาม

ในส่วนของคำถามบน Google Form มีอยู่ 9 รูปแบบ ประกอบไปด้วย

  1. คำตอบสั้นๆ [Short answer]
  2. ย่อหน้า [Paragraph]
  3. หลายตัวเลือก [Multiple choice]
  4. ช่องทำเครื่องหมาย [Checkboxes]
  5. เลื่อนลง [Drop-down]
  6. สเกลเชิงเส้น [Linear scale]
  7. ตารางตัวเลือกหลายข้อ [Multiple-choice grid]
  8. วันที่ [Date]
  9. เวลา [Time]

และในทุกๆ คำถามจะมีส่วนของเมนูบริเวณด้านล่าง(ของแต่ละคำถาม) ซึ่งแต่ละปุ่มมีหน้าที่ดังนี้

ทำสำเนา [Duplicate]
หากคุณต้องการทำคำถามในลักษณะเดียวกันหลายข้อ ปุ่มนี้จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น


ลบ [Delete]
ทำการลบเฉพาะคำถามนั้นๆ ออก
.


จำเป็น [Required]
ใช้บังคับให้ผู้ทำแบบทดสอบจำเป็นต้องตอบคำถามนั้นๆ ถึงจะส่งคำตอบได้
.


คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
ในข้อนี้ของแต่ละรูปแบบจะมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน โดยในบทความนี้จะอธิบายทีละข้อ

เรามาเริ่มทำความรู้จักคำถามแต่ละรูปแบบกันเลย

คำตอบสั้นๆ [Short answer]

คำถามที่ต้องการคำตอบสั้นๆ

q1รูปภาพ 2.1.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)

q1-1
รูปภาพ 2.1.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)

q1-2
รูปภาพ 2.1.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– การตรวจสอบข้อมูล [Data validation]: กรองค่าที่กรอกได้ เช่น กำหนดความยาว, ให้กรอกในรูปแบบอีเมล หรือ ให้กรอกเป็นตัวเลขเท่านั้น


ย่อหน้า [Paragraph]

คำถามที่สามารถพิมพ์ตอบได้ยาว โดยส่วนมากจะเป็นคำตอบที่ไม่ตายตัว มีความยาวมากน้อยไม่เท่ากัน เช่น ที่อยู่ หรือข้อเสนอแนะต่างๆ

q1รูปภาพ 2.2.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)

q1-1
รูปภาพ 2.2.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)

q1-2
รูปภาพ 2.2.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– การตรวจสอบข้อมูล [Data validation]: กรองค่าที่กรอกได้ เช่น กำหนดความยาว โดยนับจำนวนตัวอักษร


หลายตัวเลือก [Multiple choice]

คำถามที่จะให้ผู้ตอบเลือกจากตัวเลือกที่กำหนดให้ โดยสามารถเลือกได้เพียงคำตอบใดคำตอบหนึ่ง


รูปภาพ 2.3.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.3.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.3.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– ไปยังส่วนที่ระบุในคำตอบ [Go to section based on answer]: กำหนดหน้าปลายทาง [section] เมื่อเลือกคำตอบได้ *จะใช้ได้เมื่อทำการสร้างหน้าเพิ่มด้วยคำสั่งเพิ่มส่วน (add section)
– สลับลำดับของตัวเลือก [Shuffle option order]: ใช้ในการสุ่มการเรียงลำดับของคำตอบได้


เลื่อนลง [Dropdown]

ใกล้เคียงกับ Multiple Choice แต่คำถามรูปแบบนี้จะเหมาะสำหรับคำตอบที่มีเป็นจำนวนมาก เช่นให้เลือกอำเภอ, จังหวัด หรือประเทศ ซึ่งคำตอบจะมีปริมาณจำนวนมากทำให้ขนาดของช่องคำถามยืดยาว ซึ่งคำถามรูปแบบนี้จะช่วยรักษาพื้นที่ได้อย่างมาก


รูปภาพ 2.4.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.4.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.4.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– ไปยังส่วนที่ระบุในคำตอบ [Go to section based on answer]: กำหนดหน้าปลายทาง [section] เมื่อเลือกคำตอบได้ *จะใช้ได้เมื่อทำการสร้างหน้าเพิ่มด้วยคำสั่งเพิ่มส่วน (add section)
– สลับลำดับของตัวเลือก [Shuffle option order]: ใช้ในการสุ่มการเรียงลำดับของคำตอบได้


ช่องทำเครื่องหมาย [Checkboxes]

ใกล้เคียงกับ Multiple Choice และ Dropdown อีกเช่นกัน แตกต่างกันที่คำถามรูปแบบนี้จะสามารถเลือกได้หลายคำตอบ


รูปภาพ 2.5.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.5.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.5.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– การตรวจสอบข้อมูล [Data validation]: กรองค่าที่กรอกได้ เช่น ให้เลือกคำตอบอย่างน้อยกี่ข้อ, ไม่เกินกี่ข้อ, หรือให้เลือกพอดี ตามจำนวนที่เราตั้ง และยังสามารถเขียนข้อความเตือนหากผู้ตอบกรอกไม่ตรงตามข้อกำหนด
– สลับลำดับของตัวเลือก [Shuffle option order]: ใช้ในการสุ่มการเรียงลำดับของคำตอบได้


สเกลเชิงเส้น [Linear scale]

คำถามในรูปแบบเชิงปริมาณ ใช้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนตัวเลข ได้สูงสุดตั้งแต่ 0-10 โดยจะเน้นการนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำสถิติซะส่วนใหญ่


รูปภาพ 2.6.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.6.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.6.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้


ตารางตัวเลือกหลายข้อ [Multiple choice grid]

คำถามในรูปแบบเชิงปริมาณ ใช้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนตัวเลข ได้สูงสุดตั้งแต่ 0-10 โดยจะเน้นการนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำสถิติซะส่วนใหญ่


รูปภาพ 2.7.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.7.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.7.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– สลับลำดับของแถว [Shuffle row order]: ใช้ในการสุ่มการเรียงลำดับของแถวได้


วันที่ [Date]

คำถามที่ต้องการคำตอบเป็นวันที่


รูปภาพ 2.8.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)


รูปภาพ 2.8.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม) – รูปแบบขึ้นอยู่กับ Browser ของผู้ตอบ


รูปภาพ 2.8.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– รวมเวลา [Include time]: ให้ผู้ตอบทำการระบุเวลาในวันนั้นด้วย
– รวมปี [Include year]: ให้ผู้ตอบระบุปีด้วย สำหรับบางแบบสอบถามอาจไม่ต้องการทราบปีเพราะทำในช่วงเวลาสั้นๆ แต่คำสั่งนี้เหมาะสำหรับแบบสอบถามระยะยาวหรือถามเวลาย้อนหลัง เช่น วัน/เดือน/ปี เกิด เป็นต้น จึงต้องมีการระบุปีให้ชัดเจน


เวลา [Time]

คำถามที่ต้องการคำตอบเป็นเวลา หรือช่วงเวลา


รูปภาพ 2.9.1 – มุมมองของผู้สร้าง (ขณะสร้างแบบสอบถาม)

โหมดคำตอบ(1) คือเวลา – โหมดคำตอบ(2) คือช่วงเวลา
ต้องการคำตอบแบบไหน สามารถปรับได้ที่ คำสั่งเพิ่มเติม


รูปภาพ 2.9.2 – มุมมองของผู้ตอบ (ขณะตอบแบบสอบถาม) – รูปแบบขึ้นอยู่กับ Browser ของผู้ตอบ


รูปภาพ 2.9.3 – มุมมองของผู้สร้าง (หลังจากมีผู้ตอบแบบสอบถาม แล้วกดดูผลลัพธ์)

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้คำถาม สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้
– ระยะเวลา [Duration]: เปลี่ยนโหมดคำตอบ(2)ให้เป็นช่วงระยะเวลาแทน เช่น เป็นเวลากี่ชั่วโมง, กี่นาที, กี่วินาที


การเพิ่มหัวข้อและรายละเอียด [Add title and description]

เราสามารถเพิ่มหัวข้อขั้นเพื่อแบ่งส่วนของแบบสอบถามออกเป็นหมวดให้ชัดเจน อาจใช้เพื่อเขียนแสดงจุดประสงค์ของหมวดนั้นๆ หรือเขียนเพื่อแสดงคำอธิบายก็ได้

รูปภาพ 3.1.1 – มุมมองของผู้สร้าง แสดงส่วนของหัวข้อและรายละเอียด [title and description] ที่ถูกเพิ่มขึ้นมา

รูปภาพ 3.1.2 – มุมมองของผู้ตอบ แสดงส่วนของหัวข้อและรายละเอียด [title and description] ที่ถูกเพิ่มขึ้นมา


การเพิ่มรูปภาพ

เราสามารถเพิ่มรูปภาพลงไปในแบบสอบถามได้ ช่วยให้สื่อสารได้ชัดเจน

  • เพิ่มรูปภาพด้วยการอัพโหลด
  • เพิ่มรูปภาพด้วยการบันทึกจากกล้องทันที
  • เพิ่มรูปภาพด้วยการนำเข้าจาก URL
  • เพิ่มรูปภาพด้วยการนำเข้ารูปจากในอัลบั้มบนบัญชี Google ของเรา

รูปภาพ 3.1 – มุมมองของผู้สร้าง ในขณะแทรกรูปภาพ

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– ข้อความที่แสดงเมื่อเลื่อนเมาส์ผ่าน [Hover Text]: โชว์ข้อความที่แสดง เมื่อวางเมาส์ทิ้งไว้บนรูป


การเพิ่มวิดีโอ

นอกจากเพิ่มรูปภาพ เรายังสามารถเพิ่มวิดีโอได้อีกด้วย

  • สามารถค้นหาสดๆ ได้จาก Youtube
  • เพิ่มวิดีโอจาก Link ของ Youtube ที่เรามีอยู่แล้ว

รูปภาพ 4.1 – มุมมองของผู้สร้าง ในขณะแทรกรูปภาพ

คำสั่งเพิ่มเติม [Additional commands]
– เพิ่มคำอธิบาย [Description]: แทรกข้อความได้โดยจะปรากฏเป็นข้อความตัวเล็กอยู่ใต้หัวข้อวิดีโอ สามารถใช้ในการขยายความหรือชี้แจงจุดประสงค์ของคำถามได้


การเพิ่มส่วน หรือหน้า

การเพิ่มหน้าระหว่างการทำแบบสอบถาม อาจใช้เพื่อแบ่งเนื่องจากคำถามมีจำนวนมาก หรืออาจใช้แบ่งเส้นทางการตอบก็ได้
ซึ่งรูปแบบคำถามที่สามารถใช้ระบุตำแหน่งปลายทางได้ มี
หลายตัวเลือก [Multiple choice] และ เลื่อนลง [Dropdown]

เราสามารถประยุกต์ใช้งานได้ ยกตัวอย่าง
หากเราทำ 4 หน้า หน้าแรกเป็นหน้าหลัก
– ใช้ถามคำถามทั่วไป ใส่คำถามเพื่อกรองเพศของผู้ตอบที่หน้า 1
– ถ้าเป็นผู้ชายให้ทำแบบสอบถามในหน้า 2 (สำหรับผู้ชาย) และไปหน้า 4 เพื่อทำข้อที่เหลือต่อ
– แต่ถ้าเป็นผู้หญิงให้ไปตอบแบบสอบถามที่หน้า 3 (สำหรับผู้หญิง) และไปหน้า 4 เพื่อทำข้อที่เหลือต่อ

รูปภาพ 5.1 – ภาพแสดงการจับคู่การกระทำและผลลัพธ์จากการแบ่งหน้า (ด้านขวาคือผลลัพธ์)